ครั้งที่ 1 – ครูเสดนอร์เวย์ – ครั้งที่ 2 – ครั้งที่ 3ครูเสดลิโวเนีย – ครูเสดเยอรมัน – ครั้งที่ 4ครูเสดแอลบิเจนเซียน – ครูเสดเด็ก – ครั้งที่ 5ครูเสดปรัสเซีย – ครั้งที่ 6 – ครั้งที่ 7ครูเสดคนเลี้ยงแกะ – ครั้งที่ 8 – ครั้งที่ 9ครูเสดอารากอน – ครูเสดอเล็กซานเดรียยุทธการนิโคโปลิส – ครูเสดตอนเหนือ – สงครามฮุสไซท์ครูเสดวาร์นา – ออตโตมันรุกรานโอตรันโตสงครามออตโตมัน-ฮังการี – สงครามออตโตมัน-ฮับส์บูร์ก
สงครามครูเสดครั้งที่ 3 หรือ สงครามครูเสดกษัตริย์(อังกฤษ: Third Crusade หรือ Kings' Crusade) (ค.ศ. 1189-ค.ศ. 1192) เป็นสงครามครูเสดที่ฝ่ายผู้นำยุโรปพยายามกู้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากศอลาฮุดดีน (Sal?h al-D?n Y?suf ibn Ayy?b).
หลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 2 ราชวงศ์เซนกิด (Zengid dynasty) ก็เข้าครอบครองซีเรียและสร้างความขัดแย้งกับฟาติมียะห์ผู้ปกครองอียิปต์ที่เป็นผลที่ทำให้อียิปต์และซีเรียรวมตัวกันภายใต้การนำของศอลาฮุดดีนผู้ใช้อำนาจในการลดอำนาจของรัฐคริสเตียนและยึดเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1187 ด้วยความมุ่งมั่นในความเป็นคริสเตียนที่ดีสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ และ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสก็ทรงยุติความบาดหมางกัน เพื่อจะร่วมกันนำสงครามครูเสดครั้งใหม่ (แม้ว่าการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ในปี ค.ศ. 1189 จะต้องทำให้ผู้นำฝ่ายอังกฤษต้องเปลี่ยนไปเป็นสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษแทนที่) สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ผู้มีพระชนมายุสูงแล้วก็ทรงรวบรวมกำลังพลและนำกองทัพอันใหญ่โตเดินทางไปยังอานาโตเลียแต่ไปทรงจมน้ำตายเสียก่อนที่จะถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ทหารเป็นจำนวนมากที่หมดกำลังใจก็พากันเดินทางกลับ
หลังจากที่ได้รับชัยชนะหลายครั้งฝ่ายคริสเตียนก็ทะเลาะกันเรื่องทรัพย์สินที่ได้จากสงคราม เลโอโปลด์ที่ 5 ดยุคแห่งออสเตรีย (Leopold V, Duke of Austria) และพระเจ้าฟิลิปหมดความอดทนกับพระเจ้าริชาร์ดก็เดินทางต่อไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1191 เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1192 พระเจ้าริชาร์ดและศอลาฮุดดีนก็ตกลงในสนธิสัญญาที่มีผลทำให้เยรูซาเลมอยู่ภายใต้การครอบครองของมุสลิมแต่นักแสวงบุญคริสเตียนผู้ไม่ถืออาวุธสามารถเดินทางเข้าไปในเมืองเพื่อทำการสักการะได้ พระเจ้าริชาร์ดเสด็จออกจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ความล้มเหลวในการยึดเยรูซาเลมคืนนำมาซึ่งสงครามครูเสดครั้งที่ 4 หกปีต่อมา